กิจกรรมวัดหนองบัว > คุณสิทธานต์ อุปริสัจกุล ถวายผ้าไตร จีวร

คุณสิทธานต์ อุปริสัจกุล ร่วมถวายผ้าไตรจีวร ๙ ขันฑ์

(1/1)

admin:
คุณสิทธานต์ อุปริสัจกุล ถวายผ้าไตรจีวร ๙ ขันฑ์
พระภิกษุเป็นเพศบรรพชิต เป็นเพศที่สูงกว่าเพศคฤหัสถ์ พระภิกษุ เป็นเพศที่มีความแตกต่างจากคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนอย่างสิ้นเชิง
แตกต่างโดยสรีระที่จะต้องมีการปลงผมและหนวดที่อยู่อาศัยก็แตกต่างกัน  เครื่องนุ่งห่มก็ต่างกัน   เครื่องใช้ต่าง ๆก็ต่างกัน ดังนั้น
ปัจจัยเครื่องอาศัยที่จะทำให้ชีวิต ก็จะต้องเหมาะสมกับกับความเป็นบรรพชิตซึ่งเป็นเพศที่ขัดเกลากิเลสเป็นอย่างยิ่ง
มีความจริงใจที่จะฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญาขัดเกลากิเลสในเพศของบรรพชิต
        ไตรจีวร หรือ ผ้าไตร เป็นชื่อเรียกผ้านุ่งผ้าห่มที่พระสงฆ์ใช้สอย หมายถึงผ้า 3 ผืนซึ่งมีทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม 
อันได้แก่สังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่า) อุตราสงฆ์ (ผ้าจีวรสำหรับห่ม)และอันตรวาสก (สบงสำหรับนุ่ง) แต่นิยมเรียกรวมกันว่า ไตรจีวร
         ตามพระวินัยบัญญัติ  แต่เมื่อกาลผ่านมาจนถึงยุคปัจจุบัน มีพ่อค้ากระทำจีวรสำเร็จรูปวางจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป
ผู้ที่มีศรัทธาจะถวายผ้าก็ซื้อสำเร็จรูปถวายได้ เลยแต่ควรเป็นผู้ละเอียดที่จะดูว่า สี ความยาว จำนวนชิ้น และผ้านั้นมีการตัดเย็บ
ถูกต้องหรือไม่ จำนวนขันฑ์ หรือ ผืน นั้นตามพระวินัยก็จะมีระบุจำนวนไว้ ๕ ขันฑ์ ๗ หรือ ๙ ขันฑ์เป็นต้น อนึ่งในพระวินัยไม่ห้าม
จำนวนการรับผ้า สามารถรับได้จำนวนมากๆ   แต่เมื่อรับไปแล้วต้องทำให้ถูกต้องตามพระวินัย ภายใน ๑๐ วัน  และใช้บริหารอยู่เพียง ๓  ผืนคือ ผ้านุ่ง ๑ ผ้าห่ม ๑ ผ้าห่มช้อน ๑ ดังนั้นเมื่อจะใช้ผ้าผืนใหม่ก็ต้องสละผ้าผืนเก่า

(ปัจจุบัน มีการถวายผ้าไตร โดยเป็นการเอาเงินหยอดตู้ และ เอาผ้าไตรจีวรเดิมถวายเวียนไปมา การถวายผ้าไตร ไม่ใช่เพียงหวังแต่บุญแต่ขาดความเข้าใจ ก็จะเป็นเหตุให้พระศาสนาเสื่อม อันตรธานไปได้อย่างรวดเร็ว หากจะถวายผ้าไตร ก็ควรเป็นไปเพื่อ ประโยชน์กับผู้รับเป็นสำคัญและทำให้ถูกต้อง โดยพิจารณาว่า ผ้าไตรที่จะถวายถูกต้องไหม และ ควรซื้อมาเอง ไม่ควรไปซื้อจากที่ทางวัด ที่เวียนวางไว้ และ มอบกับพระภิกษุ และที่สำคัญ ก็ควรพิจารณาด้วยว่า ทางวัดนั้น หรือ พระภิกษุนั้นขาดแคลนผ้าไตรจริงหรือไม่ เพราะ หากเป็นวัดใหญ่ ผ้าไตร ก็มีเหลือมากมายอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ก็ควรถวายสิ่งของที่เหมาะสมกว่า ที่ขาดแคลน หรือ ต้องใช้ประจำ สำหรับวัดใหญ่ก็ได้ เช่น ไปเลี้ยงเพลเลี้ยงอาหาร กับพระภิกษุสงฆ์ หรือ ยารักษาโรค ที่เป็นยาที่มักไม่ค่อยมีคนถวาย ก็จะเป็นประโยชน์กับทางพระภิกษุมากกว่า ครับ การเลือกถวายในสิ่งที่เหมาะสม ย่อมเท่ากับว่า มีปัญญา และ รักษาพระศาสนาไว้ แม้จะไม่ต้องการบุญ แต่ก็เป็นบุญแล้ว)

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

Go to full version